วันจันทร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2560

SET

เซต  ( Sets )
 ลักษณะของเซต
ในชีวิตประจำวัน เราได้พบเห็นและคุ้นเคยกับการจัดสรรสิ่งต่าง ๆ ที่มีลักษณะเหมือนกัน เป็นกลุ่มเป็นพวกเดียวกัน หรืออาจแตกต่างกัน แต่มีลักษณะบางอย่างร่วมกันมาบ้างแล้ว ซึ่งเรานิยมใช้คำต่าง ๆ กัน  ในการกล่าวถึงพวกหรือกลุ่มของสิ่งของเหล่านั้น
เซต เป็นคำอนิยาม ไม่ต้องให้คำจำกัดความ ในวิชาคณิตศาสตร์เราใช้คำว่า “เซต (Sets)” ซึ่งเป็นคำที่ใช้บ่งบอกถึงกลุ่มของสิ่งต่าง ๆ และเมื่อกล่าวถึงกลุ่มใดแล้ว สามารถทราบได้แน่นอนว่าสิ่งใดอยู่ในกลุ่ม และสิ่งใดไม่อยู่ในกลุ่ม เช่น เซตของชื่อเดือนในหนึ่งปี  สมาชิกได้แก่  มกราคม, กุมภาพันธ์, มีนาคม, เมษายน, พฤษภาคม, มิถุนายน, กรกฎาคม, สิงหาคม, กันยายน, ตุลาคม, พฤศจิกายน, ธันวาคม
เซตของสระในภาษาอังกฤษ  หมายถึง  กลุ่มของอักษร  a, e, i, o และ  u
เซตของจำนวนนับที่น้อยกว่า  8  หมายถึง  กลุ่มของตัวเลข  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7
สิ่งที่อยู่ในเซต  เรียกว่า  สมาชิก  (element หรือ members)

วิธีเขียนเซต  
วิธีเขียนเซตโดยทั่ว ๆ ไป  เขียนได้  2  วิธีคือ
1   วิธีเขียนเซตแบบแจกแจงสมาชิก  (Tabular Form)  
การเขียนเซตแบบนี้จะเขียนสมาชิกทุกตัวของเซตลงในเครื่องหมายวงเล็บปีกกา และใช้เครื่องหมายจุลภาค ( , )  คั่นระหว่างสมาชิกแต่ละตัว กรณีสมาชิกมีมาก ๆ จะใช้ “…”   
เช่น A เป็นเซตของจำนวนคู่บวกที่น้อยกว่า 100 จะเขียน A = { 2 , 4 , 6 , … , 98 }
B เป็นเซตของจำนวนเต็มคี่ จะเขียน B = {…, -5 , -3 , -1 ,1 , 3 , 5 , … }
C เป็นเซตของจำนวนเต็มลบ จะเขียน C = {-1, -2, -3, …}


หมายเหตุ การเขียนเซตแบบแจกแจงสมาชิกจะเขียนสมาชิกแต่ละตัวเพียงครั้งเดียวเช่นเซตของพยัญชนะในคำว่า “กรรมการ” เขียนแบบแจกแจงได้ดังนี้ { ก , ร , ม }
2 วิธีเขียนเซตแบบบอกเงื่อนไขของสมาชิก  (Set-builder Form)  
การเขียนเซตแบบบอกเงื่อนไขของสมาชิก  เขียนได้โดยใช้ตัวแปรแทนสมาชิกของเซตและมีเงื่อนไขบอกให้ทราบว่าตัวแปรนั้นแทนสมาชิกใดบ้าง  เช่น
A   =  {x | x  เป็นสระในภาษาอังกฤษ}
อ่านว่า A เป็นเซตที่มี x เป็นสมาชิก โดยที่  x  เป็นสระในภาษาอังกฤษ
B  =  { x | x  เป็นวันแรกและวันสุดท้ายของสัปดาห์}
อ่านว่า  B เป็นเซตที่มี x เป็นสมาชิกโดยที่  x  เป็นวันแรกและวันสุดท้ายของสัปดาห์


เครื่องหมาย  “|”  แทนคำว่า  โดยที่ หรือซึ่ง ใช้คั่นระหว่างตัวแปรกับเงื่อนไขเพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น   


ข้อสังเกต 1. การเรียงลำดับของแต่ละสมาชิกไม่ถือเป็นสิ่งสำคัญ
เช่น A = {a, b, c} , B = {b, c, a}    เซต A และเซต B เป็นเซตเดียวกัน
2.   การนับจำนวนสมาชิกของเซตจะนับจำนวนสมาชิกที่เหมือนกันเพียงครั้งเดียว ถึงแม้จะเขียนหลาย ๆ ครั้ง
เช่น A ={ 1, 2, 1, 1, 2} จำนวนสมาชิก 2 ตัว   คือ 1 และ 2
       B = {0, 2, 1, 1, 2, 3} มีจำนวนสมาชิก 4 ตัว   คือ 0, 1, 2, 3
3. สมาชิกของเซตใดเซตหนึ่งอาจอยู่ในรูปของเซตก็ได้
เช่น C = {0, 1, {1}} มีจำนวนสมาชิก 3 ตัว   คือ 0, 1, {1}


ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นการใช้เซตไม่ถูกต้อง
1. เซตของสาวสวย
2. เซตของนักเรียนโรงเรียนอัสสัมชัญทุกแห่งเรียนเก่ง
3. เซตของผลไม้ที่อร่อยที่สุด 3 ชนิด
4. เซตของขนมที่คนชื่นชอบมากที่สุด
5. เซตของดาราชายที่อารมณ์ดีที่สุดแห่งปี
ทุกข้อความเป็นการใช้เซตที่ไม่ถูกต้องทั้งสิ้นเพราะ
1. “สวย” ของนักเรียนกับ “สวย” ของคนอื่นอาจไม่ตรงกัน
2. “เรียนเก่ง” ของคนหนึ่งอาจแตกต่างจากของอีกคนหนึ่ง
3. “อร่อย” ของคนหนึ่งอาจจะแตกต่างจากของอีกคนหนึ่ง
4. “ชื่นชอบ” ของคนหนึ่งอาจจะแตกต่างจากของอีกคนหนึ่ง
5. “อารมณ์ดี”ตามความรู้สึกของคนหนึ่งอาจจะแตกต่างจาก

สัญลักษณ์แทนเซต
ในการเขียนเซตโดยทั่วไปจะแทนเซตด้วยอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่  
เช่น  A, B, C  และแทนสมาชิกของเซตด้วยตัวพิมพ์เล็ก  เช่น A  =  {1, 4, 9, 16, 25} หมายถึง  A  เป็นเซตของกำลังสองของจำนวนนับห้าจำนวนแรก
B  =  {a, e, i, o, u}   หมายถึง  B  เป็นเซตของสระในภาษาอังกฤษ
  
สมาชิกของเซต                                                                                                                                                
ใช้สัญลักษณ์  “∈”  แทนคำว่าเป็นสมาชิกหรืออยู่ใน  และใช้สัญลักษณ์ “∉” แทนคำว่า
ไม่เป็นสมาชิกของ หรือ ไม่อยู่ใน  เช่น  A  =  {1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10}
จะได้ว่า 5 เป็นสมาชิกของเซต  A  หรืออยู่ในเซต  A  เขียนแทนด้วย  5 ∈ A
9 เป็นสมาชิกของเซต  A  หรืออยู่ในเซต  A  เขียนแทนด้วย  9 ∈ A
   12  ไม่เป็นสมาชิกของเซต  A  หรือไม่อยู่ในเซต  A  เขียนแทนด้วย  12  ∉  A
   24  ไม่เป็นสมาชิกของเซต  A  หรือไม่อยู่ในเซต  A  เขียนแทนด้วย  24  ∉  A
สำหรับเซต  A  ซึ่งมีสมาชิก  10 ตัว  ใช้สัญลักษณ์  n(A)  เพื่อบอกจำนวนสมาชิกของเซต  A  นั่นคือ  n(A)  =  10



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ทดสอบ ICT กลุ่ม 2

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เซต  ( Sets ) ลักษณะของเซต ในชีวิตประจำวัน เราได้พบเห็นและคุ้นเคยกับการจัดสรรสิ่งต่าง ๆ ที่มีลักษณะเหมื...